"ไข่" อาหารสุขภาพเพื่อลูกรัก

วันนี้ขอนำเสนออาหารที่มีอยู่ทั่วไปนั้นก็คือ "ไข่" แหล่งสารอาหารชั้นดี ที่เหมาะกับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย และเพื่อสร้างความเข้าใจ ในการดูแลอาหารชนิดนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรักของท่านได้อย่างถูกต้อง 

"ไข่" มีดีอะไรบ้าง? มาดูกัน...

โปรตีน (Protein)

ไข่ ให้โปรตีนมากที่สุด และย่อยง่ายที่สุดในอาหารธรรมชาติด้วยกัน คือให้โปรตีนถึง 94 เปอร์เซ็นต์  ส่วนในไข่ขาวนั้นจะมีโปรตีนสูงซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (Essential amino acid) เป็นสารอาหารหลักสำหรับการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ ในส่วนไข่แดงนั้นก็มีสารอาหาร ได้แก่ โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ แหล่งสารอาหารดังกล่าวก็คือตับ เนื้อสัตว์ และไข่แดง

เลซิติน (Lecithin)


      เลซินตินมีประโยชน์อะไรบ้างมาดูกัน
  1. ช่วยในการเสริมสร้างความจำ เลซิตินเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างโคลีน ซึ่งโคลีนนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสารสื่อประสาท ที่เรียกว่า อะเซทธิลโคลีน (Acethyl Choline) สารสื่อนำประสาทนี้เมื่อเพิ่มขึ้นจะมีผลในการเสริมสร้างความจำและลดอาการหลง ลืมในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้มีระดับโคลีนในร่างกายต่ำจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า จิตใจหดหู่ หลงลืมและไม่มีสมาธิ และโคลีนยังช่วยในการปล่อยฮอร์โมน วาโสเพรสซิน (Vasopressin) ซึ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้และความจำ การควบคุมปริมาณของปัสสาวะ และควบคุมความดันโลหิต
  2. ควบคุมระดับโคเลสเตอรอลได้ เลซิตินทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายไขมันในเส้นเลือดทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด เลซิตินจึงเป็นสารอาหารที่สามารถป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือด หัวใจตีบ หรืออุดตันอันมีผลให้หัวใจวายได้ 
  3. ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ส่งเสริมการทำงานของเซลล์ให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ตับ ไต และต่อมไร้ท่อ ตลอดจนการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
  4. ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 1 เพิ่มขึ้นในตับและเพิ่มการดูดซึมวิตามินเอในลำไส้
  5. ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของโคเลสเตอรอล (cholesterol) ในถุงน้ำดี  
ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับ “ไข่”


- ควรล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัสไข่ และไม่ควรบริโภคไข่ที่เปลือกไข่แตกหรือบุบ ร้าว


- ควรเก็บไข่ไว้ในตู้เย็น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และควรบริโภคไข่ให้หมดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากซื้อ


- ไข่ที่หมดอายุ ไม่ควรนำมากิน วิธีทดสอบคุณแม่อาจทดสอบโดยนำไข่ไปลอยในน้ำ หากไข่จมแสดงว่ายังสด แต่ถ้าลอยหรือมีกลิ่นแสดงว่าไข่เน่าเสีย


ไข่ เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยิ่งกับลูกน้อยในช่วงวัยเติบโต คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารที่หลากหลาย ในปริมาณเหมาะสม เช่นเดียวกับอาหารชนิดอื่นๆ โดยครบ 5 หมู่ ก็จะเกิดผลดีต่อร่างกาย สิ่งสำคัญคือ เสริมเสร้างความแข็งแรงให้กับลูกน้อย ด้วยการออกกำลังกายด้วย

สิ่งที่คุณควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ไข่” ...


- ไข่ขาว มีคุณสมบัติดูดซึมของสารพิษไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น จึงมักจะได้ยินว่า "การกลืนไข่ขาว" สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้
- เพื่อใช้เป็นยาใส่แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก คนไทยโบราณนิยมใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำปูนใส ตีผสมกับไข่แดง เพื่อดับพิษร้อนและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ไม่ทำให้เป็นแผลเป็น
- ในจีนเชื่อว่า หากให้เด็กที่เป็นโรคหอบหืดโดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว ช่วงที่ร่างกายมักจะไม่แข็งแรง การกินไข่ดาวราดน้ำผึ้งเป็นประจำจะช่วยให้เด็กแข็งแรงขึ้น และหายจากโรคหอบหืด


บทความนี้คุณแม่คงจะเห็นความสำคัญของ "ไข่" กันแล้วสินะ...

Read Comments

มาบำรุงสมองลูกรักของคุณกันเถอะ...

 

 

 สมองนั้นสำคัญที่สุด โดย เฉพาะกับลูกรักของคุณ ซึ่งปัจจัยสำคัญก็คือ อาหารที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองให้กับลูกรักของคุณ


สมองของทารกมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ ซึ่งจะแบ่งจะเซลล์เร็วมากในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด เพราะฉะนั้น คุณแม่จะต้องเริ่มบำรุงตั้งแต่อยู่ในครรภ์และบำรุงต่อเนื่องจนหลังคลอด โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรกๆ ซึ่งสำคัญมาก เพราะถ้าลูกของเราได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเลี้ยงดูอย่างถูกต้องถูกวิธี จะทำให้สมองมีการพัฒนาดีขึ้นอย่างมาก

หัวใจสำคัญของอาหารที่ว่านั้นก็คือ นมแม่ ซึ่งเป็น อาหารที่ดีที่สุดซึ่งจริงๆ แล้วในช่วงเวลา 4-6 เดือนแรก นมแม่เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอสหรับลูกรักของคุณแล้วแล้ว ทารกที่กินนมแม่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 2 เดือนขึ้นไปจะมีการพัฒนาการเจริญเติบโตและมีขนาดสมองที่สมวัย มีพัฒนาการในด้านการเรียนรู้ และในด้านเชาวน์ปัญญา การรับรู้ การมองเห็น การใช้กล้ามเนื้อที่แตกต่างจากทารกที่ได้รับนมผสม

นอกเหนือจากนมแม่ที่กล่าวมาแล้ว เราลองมาดูอาหารอื่นๆที่เหมาะสมในแต่ละวัยของลูกรักกันบ้าง


4 เดือน
 ข้าวบดละเอียดใส่ไข่แดงต้มสุก สลับกับตับบด น้ำซุป กล้วยน้ำว้าขูดประมาณ 2 ช้อนชา แล้วค่อยๆ เพิ่มเป็นครึ่งถ้วย

5 เดือน
 เพิ่มเนื้อปลาต้มสุกและผักต้มเปื่อยประมาณครึ่งถ้วย ปลาต้มควรทำให้ยุ่ย อย่าให้มีก้างเหลือ ถ้าเด็กอาจแพ้อาหารทะเลได้ หรือเลือกใช้ปลาน้ำจืดแทนก็ได้

6 เดือน
 เนื้อสัตว์ สับละเอียด รวมทั้งไข่ไก่ และข้าวบดที่หยาบขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1 ถ้วย

7 เดือน
 ลูกสามารถเริ่มกินผลไม้ได้บ้างแล้ว เราควรเลือกผลไม้ย่อยง่าย เช่น มะละกอสุก กล้วย หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อฝึกให้ลูกเคี้ยว แต่คุณแม่ควรคอยดูแลอย่างใกล้ชิดด้วย

8-9 เดือน
ลูกรักของเราเริ่มมีฟันขึ้น 3-4 ซี่ ตอนนี้สามารถกินอาหารเนื้อหยาบกว่าเดิมได้แล้ว ซึ่งคุณแม่สามารถให้อาหารเสริมได้ 1-2 มื้อ

10-12 เดือน
 อาหารเสริมควรเพิ่มเป็น 3 มื้อ อาหารว่างวันละ 1 มื้อ เพราะหลังจากอายุ 6 เดือน จำนวนมื้อของนมแม่จะลดลง เมื่ออายุ 1 ปี อาหารเสริมจะกลายเป็นอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และนมแม่ วันละ 3-4 มื้อ

1-3 ปี
 เริ่มหัดให้กินข้าวสวยควรจะหุงนิ่ม แต่ไม่ควรปรุงรส และควรจะให้อาหารว่างระหว่างมื้อด้วย เช่น น้ำผลไม้ หรือ เลือกผลไม้ที่ลูกชอบ เช่น มะม่วงสุก ส้ม แอปเปิ้ล ฝรั่ง


 ที่กล่าวมานั้นคือข้อปฏิบัติที่คุณแม่ทุกคนควรจะปฏิบัติให้กับลูกรักของเรา เพราะอาหารเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาการของลูกน้อยของเราอย่างยิ่ง ควรที่จะเลือกให้เหมาะสมเพื่อให้ลูกได้เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ

 

Read Comments